การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

12 สิงหาคม 2566

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย เมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมทับทิม โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมฯ 

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย เมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมทับทิม โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

โดยในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลความเป็นมา และความสำคัญของโครงการ แนวคิดเบื้องต้น แนวเส้นทางเลือก รูปแบบเบื้องต้น กระบวนการ ขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมรับรู้ข้อมูลโครงการตั้งแต่เริ่มต้น และได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับนำไปประกอบการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมฯ ต่อไป 

ทั้งนี้ ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงาน นางอรนุช ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย นางสาวณัฐฐา กาสี ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน นางอินทิรา รัตนปัญญากร ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างทางพิเศษ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ครอบคลุมทั้งผู้แทนหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และผู้ที่สนใจ รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom รวมทั้งสิ้นกว่า 250 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม
482 VIEW
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

เกาะสมุย เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้" แต่ในปัจจุบันสามารถเดินทางมายังเกาะสมุยได้เพียงทางอากาศและทางน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านปริมาณและจำนวนเที่ยวในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้ามรสุมที่ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือ ดังนั้น การมีทางเชื่อมข้ามเกาะสมุยจะเป็นอีกทางหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอกภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายให้กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บูรณาการดำเนินงานร่วมกัน โดยโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุยเป็นโครงการหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการบูรณาการการพัฒนานวัตกรรมและโครงข่ายทางถนนร่วมกัน ซึ่งมอบหมายให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

12 สิงหาคม 2566